พริกเป็นพืชผักที่มีความสำคัญในการประกอบอาหารประจำวันสำหรับคนไทยเป็นอย่างมากเนื่องจาก คนไทยนิยมรับประทานอาหารที่มีรสชาติค่อนข้างเผ็ดจึงนิยมปลูกพริกเพื่อบริโภคในครัวเรือนและมีการปลูก พริกเพื่อการค้าอีกทั้งทำเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปเครื่องปรุงแต่งรสเช่น พริกแห้ง พริกป่น น้ำพริกเผา น้ำพริกแกง และซอลพริกเป็นต้น พริกที่ปลูกกันมากในปัจจุบันนี ้สามารถแบ่งตามขนาดของผลพริกได้ 2 ชนิดดังนี้
1. พริกใหญ่ ได้แก่ พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกเหลือง พริกหยวก พริกยักษ์บางซอ แม่ปิง 80 ภูพิงค์
2. พริกเล็กหรือพริกขี ้หนู ได้แก่ พริกจินดา พริกหัวเรือ พริกห้วยสีทน พริกจินดายอดสน พริกจินดา ลาด หญ้า พริกขี้หนูสวน พริกเดือยไก่ พริกปากปวน พริกลูกผสมซูบเปอร์ฮอท เพชรดา
พริกเป็นพืชในเขตร้อนหรือกึ่งร้อนที่ทนความแห้งแล้งได้ดีพอควร และสามารถปลูกได้ในดินแทบทุก ชนิด แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะ เพราะจะทำ ให้รากเน่าและตายได้
อายุการปลูก
ตั้งแต่ย้ายกล้าจนถึงเก็บเกี่ยว - พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกเหลือง อายุประมาณ 70 –90 วัน - พริกเล็กหรือพริกขี้หนู อายุประมาณ 60 -90 วัน - พริกยักษ์ อายุประมาณ 60 – 80 วัน
ฤดูปลูก
ปลูกได้ตลอดปี แต่ปลูกได้ผลดีที่สุดระหว่างเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่เก็บผลผลิตในฤดูแล้ง ทำให้สะดวกในการตากแห้ง และช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู 24–29 องศาเซลเซียล สำหรับการปลูกให้ได้ราคาสูงจะต้องปลูกในเดือนเมษายน-พฤษภาคม และสิงหาคม-กันยายน เป็นช่วงที่ปลูกพริกยากที่สุด
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
ควรเลือกใช้พันธุ์พริกที่ตลาดมีความต้องการมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ปัจจุบันนิยมใช้พันธุ์ ลูกผสมซูเปอร์ฮอท ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ไปเพาะ คัดเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ออกโดยนำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำสะอาด เมล็ดพันธุ์ที่เสียจะลอยน้ำแล้วคัดออก นำไปแช่น้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน ประมาณ 30 นาที ก่อนนำไปเพาะกล้า
การเพาะเมล็ดพันธุ์ในแปลง
นำเมล็ดพันธุ์หว่านให้กระจายทั่วทั้งแปลงเพาะ หรือโรยเมล็ดเป็นแถวลงไปในร่องลึก 0.6–1 ซม. ห่าง กันแถวละประมาณ 10 ซม. กลบด้วยปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหรือดินผสมละเอียดรดน้ำให้ชุ่มเสมอ คลุมด้วย ฟางแห้งหรือหญ้าแห้งบางๆ เมื่อกล้าเริ่มงอกมีใบจริงอายุประมาณ 12–15 วัน ถอนแยกต้นที่เป็ นโรคไม่ สมบูรณ์หรือต้นที่ขึ้นเบียดกันแน่นเกินไปทิ้งให้มีระยะห่างกันพอสมควรและควรให้ปุ๋ยเสริมทางใบเพื่อให้ต้น กล้าเจริญเติบโตและแข็งแรง เมื่อต้นกล้าอายุ 30–40 วัน จึงย้ายลงปลูกในแปลงใหญ่ได้
การเพาะเมล็ดพันธุ์ในกะบะเพาะ
การเพาะในถาดหลุมมีวัสดุเพาะเมล็ดเป็ นส่วนผสมส าเร็จรูปที่อุ้มน้ำได้พอเหมาะ แต่ละถาดมี104 หลุม วัสดุเพาะ(มีเดีย) 1 ถุงใส่ถาดเพาะได้ 14-16 ถาด เทคนิคการเพาะที่ทำให้ต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ก่อน ย้ายปลูกจะต้องเพาะเมล็ดให้งอกก่อนในวัสดุเพาะอย่างอื่นเช่นทรายผสมแกลบดำและขุยมะพร้าวเมล็ดจะ งอกใช้เวลาประมาณ 10-12 วัน หลังจากนั้นจึงย้ายไปปลูกในวัสดุเพาะสำเร็จรูป(มีเดีย)ที่อยู่ในถาดเพาะใช้ เวลาอีก 14-18 วันจึงน าต้นกล้าย้ายปลูกได้ การเตรียมดนิปลูก การเตรียมดินปลูกพริกนั้น ควรพิจารณาความแตกต่างตามสภาพของดินและระดับน้ำดังนี้ คือ 1. การเตรียมดิน ควรขุดหรือไถดินให้ลึกประมาณ 15 ซม. ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ ยหมักหรือปุ๋ ยคอก ที่สลายตัวแล้วประมาณ 20 กก. ต่อเนื ้อที่ 5 ตารางเมตร พรวนย่อยผิวหน้าดินให้ละเอียด 2. การเตรียมดินปลูกในเขตอาศัยน้ำฝน ต้องพิจารณาเลือกที่ซึ่งระบายน้ำได้ดี การกำหนดแถวปลูก ให้ก าหนดแถวคู่ห่างกัน 1.20 ม. และให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 0.50 ม. ระยะระหว่างต้น 0.50 X 0.50 ม. เมื่อเตรียมแปลงปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ ยคอกในอัตราไร่ละ 1,200 – 3,000 กก. ทำการคลุก ปุ๋ยคอกให้เข้ากับดินแล้วใส่ปุ๋ ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กก. ต่อไร่ และใช้สารเคมีป้องกัน และในสภาพดินที่เป็นกรดจัดควรใช้ปูนขาวในอัตรา 200 – 400 กก.ต่อไร่
การปฏิบัติดูแลรักษา
1. การให้น้ำพริกเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอในช่วงแรกของการเจริญเติบโต ดินควรมีความชุ่มชื้นพอดีอย่าให้เปียกแฉะเกินไปจะทำให้ต้นพริกเหี่ยวตายได้ ในช่วงเก็บผลผลิตควรลดการให้ น้ำเพื่อจะทำให้คุณภาพผลผลิตดี สีของผลสวย
2. การกำจัดวัชพืช ในระยะที่ต้นพริกยังเล็กควรมีการกำจัดวัชพืชให้บ่อยครัง หากวัชพืชคลุมต้นพริก ช่วงระยะการเจริญเติบโต จะทำให้แคระแกร็นคุณภาพผลผลิตไม่ดี การกำจัดวัชพืชอาจใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น
3. การใส่ปุ๋ย พริกเป็นพืชที่มีอายุการเก็บผลค่อนข้างยาวนาน ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 25-50กก.ต่อไร่ขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อเป็นการ ช่วยเสริมการเจริญเติบโตนอกจากนี้ควรใส่ปุ๋ยน้ำทางใบบ้างโดยทำการฉีดพ่นทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว การใช้ ปุ๋ยเคมีจะได้ผลต่อพืชสูงสุดขึ้นอยู่กับสภาพและคุณสมบัติของดินโดยเฉพาะ pH ความชื้นและระยะการ เจริญเติบโตของพืชอีกทั้งปริมาณอินทรียวัตถุที่อยู่ในดินซึ่งจะต้องมีอย่างเหมาะสมอย่างเช่นถ้าดินเป็นกรดต้อง ใช้ปูนขาวช่วยปรับสภาพดินให้มี pH ค่อนข้างเป็นกลาง การใส่ปุ๋ยมีลงในดินจำเป็นต้องมีความชื้นอย่าง เพียงพอถ้าไม่เช่นนั้นปุ๋ยเคมีไม่ละลายจะไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชเลยบางครั้งอาจใช้วิธีละลายปุ๋ยเคมีด้วยน้ำให้ มีความเข้มข้นพอดีปกติจะใช้ปุ๋ยเคมีประมาณ 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรแล้วนำไปรดซึ่งจะเป็ นการประหยัดปุ๋ย อย่างมาก การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ใส่ครั้งแรกปริมาณครึ่งหนึ่งก่อนปลูกเป็นปุ๋ยรองพื้นพรวนกลบลงในดิน โรยปุ๋ยไนโตรเจนใส่ข้างต้นพริกห่างจากโคนพริกประมาณ 2 นิ้ว เมื่ออายุ 10 -14 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ครั้งที่ สองปริมาณอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือใส่โรยข้างแล้วแต่งหน้าด้วยปุ๋ยไนโตรเจนพรวนกลบลงในดิน
การเก็บพริกทำพริกแห้ง
ควรเลือกเก็บพริกที่แก่จัดสีแดงสดตลอดทั้งผล ปราศจากโรคแมลง เข้าทำลายแล้วรีบนำไปทำให้แห้ง โดยเร็วจะทำให้ได้พริกแห้งที่มีสีสวยและคุณภาพดี การทำพริกแห้งให้มีสีสวยคุณภาพดี มีหลายวิธีดังนี้
1. การตากแดด คือการนำพริกที่คัดเลือกแล้วนำมาตากแดดโดยตรง แผ่พริกบางๆ บนเสื่อ หรือพื้น บานซีเมนต์ที่สะอาด โดยตากแดดทิ้งไว้ 5 –7 แดด
2. การอบด้วยไอร้อน คือการนำพริกเข้าอบด้วยไอร้อนในเตาอบโดยวางพริกบนตระแกรง แล้ววาง ตะแกรงเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ วิธีนี้เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ปลูกพริกเป็นจำนวนมาก และการทำพริกแห้ง ในช่วงฤดูฝน
3. การลวกน้ำร้อน คือ การนำพริกไปลวกน้ำร้อนก่อน โดยลวกนาน 15 นาที แล้วนำไปตากแดด ประมาณ 5 แดด วิธีนี้จะทำให้สีของพริกแห้งสวย และไม่ขาวด่าง
4. การอบพริกด้วยโรงอบพลังแสงอาทิตย์ เป็นวิธีที่ทำให้ได้พริกที่มีคุณภาพดี สีสวย ก้านพริก แห้งสีทองไม่ดำ สะอาดไม่มีฝุ่นจับอบได้ครั้งละ 400 กก. ใช้เวลาอบประมาณ 3 วัน
5. ในกรณีที่เก็บพริกแก่จัด แต่ไม่แดงตลอดทั้งผลให้น้ำพริกใส่รวมกันในเข่งหรือกระสอบปุ๋ยบ่มไว้ ในที่ร่มประมาณ 2 คืน เพื่อทำให้พริกสุกสม่ำเสมอกัน หลังจากนั้นทำให้แห้งได้ตามกรรมวิธีข้อ 1 – 4
ขอบคุณ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น