วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

มะเขือเปราะ


มะเขือเปราะ 

ลักษณะโดยทั่วไป 
มะเขือเปราะเป็นพืชผักที่มีอายุยืน สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี 
การเพาะกล้ามะเขือเปราะ 

1.ให้เตรียมดินละเอียดพร้อมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2:1 และใส่ดินผสมดังกล่าวลงในถาดพลาสติกเพาะกล้า 

2.ใช้เศษไม้เล็กๆ (ขนาดเท่าไม้จิ้มผลไม้) กดลงไปในดินที่บรรจุอยู่ในถาดพลาสติกเพาะกล้า ขนาดความลึก 0.5 ซม. 

3.นำเมล็ดมะเขือเปราะหยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 1-2 เมล็ด 

4.กลบดินผิวหน้าเมล็ดไปจากถาดพลาสติกเพาะกล้าโดยใช้ปูนขาวโรยเป็นเส้นล้อมถาดเพาะไว้ 

5.หลังเพาะนาน 7-10 วัน มะเขือเปราะเริ่มงอก หมั่นรดน้ำต้นกล้ามะเขือเปราะทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเข้าและเย็นจนกระทั่งต้นกล้ามะเขือเปราะมีอายุ 25-30 วัน จึงย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในกระถางหรือในแปลงปลูก 

การเตรียมในแปลงหรือในกระถาง 

1.ถ้าปลูกในแปลงควรเตรียมดินปลูก โดยใช้จอบขุดย่อยดินหน้าดินลึก 15-20 ซม. และย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอกหรือใส่ปุ๋ยหมัก หว่านและคลุกเคล้าให้เข้ากับดินในแปลง 

2.ในกรณีปลูกในกระถาง ให้ผสมดินปลูกในกระถาง โดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 2:1 


การดูแลรักษา 
1.ย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในแปลง หรือในกระถาง 
2.รดน้ำทุกวัน และในช่วงการติดผลต้องระมัดระวังในน้ำอย่างสม่ำเสมอ 
3.หลังย้ายปลูกแล้ว 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1/4 ช้อนชา ควรโรยปุ๋ยห่างโคนต้นประมาณ 2-3เซนติเมตรและรดน้ำทันที 
4.ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1/4 ช้อนชาทุกๆ 15 วัน 
5.สำหรับปุ๋ยเคมีควรมีการใส่เสริมด้วย เพื่อให้คุณภาพและผลผลิตของมะเขือสูงขึ้น สำหรับปุ๋ยเคมีที่จะใช้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินแต่ละแห่ง เช่น ถ้าดินเป็นดินเหนียว ปุ๋ยเคมีที่ใช้ควรมีไนโตรเจนและโปแตสเซี่ยมเท่ากัน ส่วนฟอสฟอรัสให้มีอัตราสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรือ 15-30-15 ถ้าเป็นดินร่วนควรให้ปุ๋ยที่มีโปแตสเซี่ยมสูงขึ้น แต่ไม่สูงกว่าฟอสฟอรัส เช่นสูตร 10-20-15 ส่วนดินทรายเป็นดินที่ไม่ค่อยจะมีโปแตสเซี่ยม จึงควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซี่ยมสูงกว่าตัวอื่น เช่นสูตร 15-20-20, 13-13-21 และ 12-12-17 เป็นต้น
6.หลังย้ายปลูกนาน 45-60 วัน มะเขือเปราะเริ่มทยอยผลผลิต สามารถเก็บผลผลิตไปบริโภคได้ 
7.หลังจากที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือเปราะไปแล้วประมาณ เดือน ควรตัดแต่งกิ่งออกบ้าง เพื่อทำให้ลำต้นมะเขือเปราะเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านใหม่ที่มีความแข็งแรง จะให้ผลผลิตรุ่นใหม่ได้อีก และควรทำการตัดแต่งและบำรุงต้นมะเขือเปราะ
ทุกๆ 2-3 เดือน


วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

น้อยหน่า


น้อยหน่าเป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อน ทรงพุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 2 - 5 เมตร สามารถเจริญเติบโตได้ใน
ดินเกือบทุกประเภท แต่ต้องมีการระบายน้ำดี มีสภาพเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 5 - 7 น้อยหน่าเป็นพืชที่ชอบอากาศแล้ว
ไม่ชอบที่ชื้นและน้ำขังแฉะเนื่องจากต้องมีระยะแล้งในเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม เพื่อการทิ้งใบในการแตกใบใหม่
และดอกน้อยหน่าอายุ 2 ปี จะเริ่มให้ผลและจะให้ผลดีอีก 2 - 3 ปี หลังจากนั้นต้นจะเริ่มโทรมต้องตัดแต่งและบำรุงต้น
ปกติต้นน้อยหน่าจะมีอายุ 8 -10 ปี จะเริ่มโทรมให้ผลขนาดเล็กและรูปร่างไม่สวยงาม จึงต้องตัดทิ้งปลูกต้นใหม่แทน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลบำรุงต้นด้วย ระยะเวลาตั้งแต่ดอกบานถึงเก็บเกี่ยวผลประมาณ 4 เดือน ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น
น้อยหน่าที่ให้ผลผลิตเต็มที่ประมาณ 30 - 50 กิโลกรัม น้ำหนักผลน้อยหน่าอยู่ระหว่าง 5 - 10 ผล/กิโลกรัม ฤดูกาล เก็บ
เกี่ยวผลผลิตระหว่างเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน


วิธีการปลูก

1. ควรปลูกในช่วงฤดูฝน
2. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาวและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
3. ผสมดิน ปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตจำนวน 5 กิโลกรัม ประมาณ 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
4. ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
5. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
6. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
7. กลบดินที่เหลือลงในหลุม
8. กดดินบริเวณโดนต้นให้แน่น
9. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลดพัดโยก
10. หาวัสดุคลุดดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
11. รดน้ำให้ชุ่ม
12. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด

ระยะปลูก

3 x 3 เมตร

จำนวนต้นต่อไร่
จำนวนต้นเฉลี่ย 150 ต้น/ไร่
การดูแลรักษา

การให้ปุ๋ย

1. ต้นที่ยังไม่ให้ผลผลิตใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 0.5 กิโลกรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 - 3 ครั้ง
2. ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งการใส่ปุ๋ยดังนี้
- บำรุงต้น ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
- ระยะสร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24
- บำรุงผล ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
- ปรับปรุงคุณภาพ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21
ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นและผลผลิตบนต้น ซึ่งอัตราที่ใช้อยู่ระหว่าง 2 - 4 กิโลกรัม/ต้น/ปี

การให้น้ำ

ในระยะปลูกใหม่ จำเป็นต้องให้น้ำสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้อยหน่าเจริญเติบโตได้เร็ว จำนวนรอดตายสูง น้อยหน่าเริ่มติดผลได้ในปีที่ 2 การให้น้ำแก่ต้นน้อยหน่าสม่ำเสมอจะทำให้ขนาดของผลและคุณภาพผลดี

การปฏิบัติอื่น ๆ

น้อยหน่าที่ให้ผลในระยะ 2 - 3 ปีแรก ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง เพราะยังให้ผลขนาดใหญ่อยู่จะต้องตัดแต่งบ้างก็เป็นกิ่งที่สูงเกินไป กิ่งฉีกหัก กิ่งแก่ กิ่งไม่สมบูรณ์ ส่วนการตัดแต่งกิ่งครั้งใหญ่ จะเริ่มตัดแต่งกิ่งเมื่อน้อยหน่าอายุประมาณ 4 - 8 ปี ซึ่งต้นจะเริ่มเสื่อมโทรม ผลเล็ก รูปร่างไม่ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ของต้นและการบำรุงรักษาเป็นสำคัญ

การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

1. ระยะแตกใบอ่อน ศัตรูพวกหนอนกินใบ ป้องกันโดยพ่นคาร์บาริล
2. ระยะออกดอก ศัตรูหนอนกัดกินดอกอ่อน ป้องกันโดยพ่นสารคาร์บาริล
3. ระยะติดผล โรคมั่นมี่ ป้องกันโดยพ่นสาร แคบแทน ไดเทนเอ็ม 45 โฟลิดอลและเพลี้ยแป้ง ป้องกันโดยพ่นสารคลอไพริฟอส ผสม ไซเปอร์เมทริน
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

1. ดัชนีการเก็บเกี่ยว ผลน้อยหน่าจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 110 - 120 วัน จากดอกบานโดยสังเกตร่องตาน้อยหน่าเริ่มห่างและสีร่องตาเข้ม ผิวจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมเหลือง สำหรับน้อยหน่า-หนัง สำหรับพันธุ์สีครั้งจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
2. การเก็บเกี่ยว โดยใช้มือปลิดผลติดขั้ว ถ้าอยู่สูงจะใช้ไม่ง่ามสอย ลงมาปลดผล ใส่ตะกร้า นำมาคัดขนาด และบรรจุผลใส่ภาชนะบรรจุ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่ โดยรองด้วยใบตอง
3. อายุการเก็บรักษา หลังจากขนส่งน้อยหน่าส่งตลาดผลผลิตจะเริ่มสุก ขึ้นอยู่กับความแก่ของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวปกติอายุการวางขยายผลผลิต จะอยู่ระหว่าง 3 - 5 วัน


ข้อมูลจาก http://pakchong.khorat.doae.go.th/Link%20pages/noyna.htm


ฝรั่ง

ฝรั่ง  มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน เป็นพืชที่เจริญเติบโตในสภาพภูมิอากาศทั่วไปในเขตร้อน และกึ่งร้อน ดังนั้น จึงสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีกิ่งเหนียว มีทรงพุ่มสูง 3-5 เมตร สามารถให้ผลผลิตได้หลังปลูก 1 ปี เป็นพืชที่เจริญเติบโต และให้ผลผลิตสม่ำเสมอในท้องที่ที่มีแสงแดดทั่วถึง ถ้าต้องการปลูกเป็นการค้าต้องปลูกฝรั่งในแหล่งที่หน้าร้อนอากาศต้องร้อนเกิน 16 องศาเซลเซียส หน้าหนาวอากาศต้องไม่หนาวจนอุณหภูมิต่ำกว่า 7องศาเซลเซียส ฝรั่งสามารถปลูกได้ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลแต่ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงเกิน 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ฝรั่งสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิดมีความทนทานต่อความแห้งแล้งและสภาพน้ำขัง ทนต่อความเป็นกรดเป็นด่างตั้งแต่ 4.5-8.2 แต่ดินที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของฝรั่ง คือดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงมีการระบายน้ำดี หากเป็นดินเหนียวควรยกร่องปลูก ฝรั่งนับจากดอกบานถึงผลแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน ผลผลิตประมาณ 170 ผล/ต้น/ปี โดยเฉลี่ยผลหนึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 300-500 กรัมฤดูกาลเก็บเกี่ยวปกติอยู่ในช่วงเดือน มีนาคม พฤษภาคม (มากที่สุด) โดยปกติแล้วฝรั่งจะให้ผลผลิตเกือบตลอดทั้งปี

การปลูก
วิธีการปลูก  1. กิ่งพันธุ์ดีได้จากกิ่งตอน หรือกิ่งปักชำ
                     2. เตรียมหลุมปลูกขนาด กว้าง x ยาว x สูง = 50 x 50 x 50 เซนติเมตร
                     3. นำดินผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1 ต่อ 2 ส่วนให้เข้ากันเป็นอย่างดีแล้วกลบลง
                            หลุมที่เตรียมไว้ให้มีระดับสูงกว่าดินเดิม 10 เซนติเมตร
                     4. คุ้ยดินที่เตรียมไว้เป็นหลุมเล็ก ๆ
                     5. นำกิ่งพันธุ์ดีวางลงตรงกลางหลุม
                     6. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน ดึงถุงพลาสติกออก โดย
                            ระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
                     7. ใช้หลักผูกยึดกิ่งพันธุ์ดีไว้เพื่อป้องกันต้นล้ม
                     8. รดน้ำตามทันทีให้พอชุ่ม
                     9. ควรหาทางมะพร้าวช่วยพรางแสงแดดให้กับฝรั่งจนกว่าต้นฝรั่งจะตั้งตัวได้


ระยะปลูก             ระยะปลูกที่เหมาะสม 3x4 เมตร
จำนวนต้นต่อไร่       จำนวนต้นประมาณ 120-150 ต้น/ไร่
การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย           
   ควรแบ่งการใส่ปุ๋ยออกเป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะบำรุงต้น ใส่ปุ๋ยหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ สูตร 16-16-16
2. ระยะบำรุงผล ใส่ปุ๋ยเมื่อฝรั่งติดผลเล็ก ๆ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15
3. ระยะปรับปรุงคุณภาพ ใส่ปุ๋ยเคมีก่อนเก็บเกี่ยว 3 เดือน และ 1 เดือน ตามลำดับ ด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 12-12-17
                  อัตราการใส่ปุ๋ยเคมี อัตราการใส่ปุ๋ยเคมีขึ้นอยู่กับอายุของฝรั่งโดยพิจารณาดังนี้
                           อัตราปุ๋ยเคมี = อายุ (ปี) หารด้วย 2x4 = กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง และคงที่เมื่อทรงพุ่มชน กัน วิธีการใส่ปุ๋ยเคมี โดยหว่านปุ๋ยเคมีรอบ ๆ โคนต้นในแนวรัศมีทรงพุ่ม
  การให้น้ำ     
                     หลังปลูกฝรั่งแล้วต้องรดน้ำในช่วงแรกอย่างสม่ำเสมอจนฝรั่งตั้งตัวได้หลังจากนั้นให้สังเกตดูความชุ่มชื้น             ของดินถ้าดินแห้งมากต้องรีบให้น้ำ และถ้าฝนตกหนักควร ระบายน้ำออก ควรเว้นช่วงการให้น้ำขณะที่ฝรั่งกำลังจะออกดอก เมื่อติดผลแล้ว ควรค่อย ๆ ให้น้ำเพิ่มขึ้นตามความต้องการของต้นฝรั่ง

    การตัดแต่งกิ่ง               
       การตัดแต่งกิ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อรักษาขนาดผลให้ใหญ่อยู่เสมอ และทำให้ได้ผลผลิตที่แน่นอน เพราะฝรั่งพอกิ่งแก่ (อายุเกิน 3 ปี) ผลจะเล็กลง ดังนั้นควรตัดแต่งกิ่ง ฝรั่งทุกปี จะช่วยทำให้ฝรั่งเกิดกิ่งอ่อนและมีช่อดอกออกมาด้วย นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อื่นๆ เช่น ทำให้ทรงพุ่มโปร่งได้สัดส่วน ลมพัดถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง ฯลฯ การตัดแต่งกิ่งฝรั่งต้นที่สมบูรณ์จะตัดแต่งกิ่งออกประมาณ 25-30% สำหรับต้นที่ไม่แข็งแรงควรตัดแต่งกิ่งก้านออกประมาณ 20% และควรตัดแต่งกิ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว
การปฏิบัติงานอื่น  
1. การห่อผล
                        เพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้ และบ่มผิวฝรั่งให้สวย นิยมใช้กับฝรั่งบริโภคผลสด มีวิธีการดังนี้
                                􀁏 ก่อนห่อผลฝรั่ง ควรพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันเชื้อราและแมลงเสียก่อน
                                􀁏 เริ่มห่อผลฝรั่ง เมื่อผลฝรั่งมีขนาดเท่าลูกมะนาว หรือหลังดอกบานแล้ว 1เดือน
                                􀁏 วิธีการห่อ โดยการใช้ถุงพลาสติกใส่ของ มัดปากถุงกับขั้วของผลฝรั่งแล้วจึงใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อ                           ทับอีกครั้งเพื่อป้องกันแสงแดดทำลายผิวฝรั่ง
2. การปลิดผล

การปลิดผล มีความจำเป็นในสวนที่ผลิตฝรั่งเพื่อการบริโภคผลสด โดยจะปลิด
ให้เหลือประมาณ 2-3 ผล/กิ่ง แต่ถ้าต้องการให้ได้ผลที่มีขนาดใหญ่ และคุณภาพ
ดีควรปลิดผลให้เหลือเพียง 1 ผล/กิ่ง
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
1. โรคฝรั่งที่สำคัญ คือ โรคราสนิม การป้องกันกำจัด โดยการฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น มาแนบ และซีแนบ และโรคแอนแทรดโนส ฉีดพ่นด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แคปแทน
2. แมลงที่สำคัญ คือ แมลงวันทอง ป้องกันโดยการห่อผลฝรั่งขณะที่ผิวยังแข็งมีสีเขียว และเพลี้ยแป้ง ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่นด้วย พอสซ์ 20%

การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษา
การเก็บเกี่ยวผลฝรั่งควรเก็บเกี่ยวเมื่อผลแก่จัด นับตั้งแต่ดอกบานจนถึงแก่เก็บเกี่ยว
ได้ใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน โดยสามารถดูลักษณะของสีผล จากสีเขียวกลายเป็นสี
ขาวนวล และผิวมีลักษณะเต่งตึงเป็นมัน การเก็บเกี่ยวโดยใช้กรรไกรตัดให้ชิดขั้วผล
แล้วนำเข้าที่ร่ม แกะเอาถุงพลาสติกออก ทำความสะอาดผลฝรั่งแล้วนำไปบรรจุ
ภาชนะรอการจำหน่าย


ขอบคุณบทความ กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร ส่วนส่งเสริมและเผยแพร่
กรมส่งเสริมการเกษตร

วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

มะละกอ

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ 

 ต้นมะละกอมี 3 เพศคือ ต้นตัวเมียผลจะกลมป้อม, ต้น กะเทยผลจะยาว และต้นตัวผู้มีแต่ดอกเป็นสายยาวไม่มีผล การเลือกพันธุ์ให้คัดเอาแต่เมล็ดจากต้นกะเทยที่ให้ผลผลิตดี ลักษณะดี คัดเอาผลที่เริ่มสุก แก้มแดง แล้วบ่มให้สุกโดยการห่อกระดาษหนังสือพิมพ์จึงผ่าเอาเมล็ดมาล้างเมือกหุ้ม เมล็ดออก ตากแห้งเก็บไว้ใช้ทำพันธุ์ ข้อมูลจากเกษตรกรชาวสวนบอกว่าเมล็ดจากช่วงกลางผลจะเป็นกะเทยมากที่สุด 

การเพาะกล้า 

- การเพาะกล้า ให้แช่เมล็ดแห้งในน้ำ 2 คืน แล้วนำไปเพาะในถุงเพาะกล้า หรือแปลงเพาะ 

- ดินปลูก ใช้ดินร่วนหรือดินเหนียว(ดินทาม หรือ ดินริมแม่น้ำ หรือดินจอมปลวก) 3 ส่วน ปุ๋ยคอกเก่าหรือขี้ไก่ 1 ส่วน และแกลบเผา 3 ส่วน ใช้ถุงขนาด 4 × 6 นิ้ว 

- เพาะเมล็ดที่แช่น้ำแล้ว ลงในถุงๆละ 3-4 เมล็ด 7 วันจะเริ่มงอก เมื่ออายุ 30 วันให้ถอนเหลือ 1 ต้น อายุ 60 วันนำไปปลูกได้ดีที่สุด ควรเพาะกล้าที่ร่มพลางแสง 50-70% รดน้ำสม่ำเสมอ อย่าให้แฉะเกินไป 

การปลูก 

- ระยะปลูก 2.50 × 2.50 ม. 1 ไร่ใช้กล้าประมาณ 256 ต้น หรือ 3.0x3.0 ม. หรือ 2.0X4.0ม. 

- ขุดหลุมปลูก ไม่ต้องลึกมากเพาะมะละกอรากตื้น (ประมาณ 50 ซม.) รองก้นหลุม ด้วยปุ๋ยคอก 1 ปุ้งกี๋ 
เลือกใช้ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ ตราบัวทิพย์ สูตร2 1 ช้อนแกง มะละกอจะชอบขี้ไก่ หรือปุ๋ยคอกเก่า 

- ให้เลือกใช้ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ ตราบัวทิพย์ สูตร2 เดือนละครั้งๆละ ประมาณ 1-2 ช้อนแกง ร่วมกับปุ๋ยคอกตามสมควร 
หรือปุ๋ยหมักชีวภาพ 4-5 กำมือ เริ่มออกดอก เมื่อครบอายุ 3 เดือน เลือกใช้ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ ตราบัวทิพย์ สูตร2 
เดือนละครั้งเพื่อเพิ่มการติดผลและเพิ่มความหวาน การใส่ปุ๋ยเคมีอย่าใส่ใกล้ต้น ใส่เมื่อดินมีความชื้นหรือรดน้ำตาม 

- อายุ 6-8 เดือน เก็บผลผลิตได้ขึ้นกับการดูแลรักษา การให้น้ำที่สม่ำเสมอ อายุการเก็บผลผลิต ถึง 2 ปี จึงปลูกใหม่ 
ควร ปลูกในพื้นที่ใหม่ ไม่ซ้ำที่เดิมเพื่อลดปัญหาโรคและแมลง 

- การให้น้ำควรให้น้ำแบบพ่นฝอย(สปริงเกลอร์) วันละ 1 ชม. 

- การคลุมดินด้วยฟางจะช่วยรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืชได้เป็นอย่างดี 

- ใส่ปุ๋ยแล้วต้องรดน้ำเสมอ 

พริก



พริกเป็นพืชผักที่มีความสำคัญในการประกอบอาหารประจำวันสำหรับคนไทยเป็นอย่างมากเนื่องจาก คนไทยนิยมรับประทานอาหารที่มีรสชาติค่อนข้างเผ็ดจึงนิยมปลูกพริกเพื่อบริโภคในครัวเรือนและมีการปลูก พริกเพื่อการค้าอีกทั้งทำเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปเครื่องปรุงแต่งรสเช่น พริกแห้ง พริกป่น น้ำพริกเผา น้ำพริกแกง และซอลพริกเป็นต้น พริกที่ปลูกกันมากในปัจจุบันนี ้สามารถแบ่งตามขนาดของผลพริกได้ 2 ชนิดดังนี้
1. พริกใหญ่ ได้แก่ พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกเหลือง พริกหยวก พริกยักษ์บางซอ แม่ปิง 80 ภูพิงค์
2. พริกเล็กหรือพริกขี ้หนู ได้แก่ พริกจินดา พริกหัวเรือ พริกห้วยสีทน พริกจินดายอดสน พริกจินดา ลาด         หญ้า พริกขี้หนูสวน พริกเดือยไก่ พริกปากปวน พริกลูกผสมซูบเปอร์ฮอท เพชรดา
            พริกเป็นพืชในเขตร้อนหรือกึ่งร้อนที่ทนความแห้งแล้งได้ดีพอควร และสามารถปลูกได้ในดินแทบทุก ชนิด แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะ เพราะจะทำ ให้รากเน่าและตายได้

อายุการปลูก
        ตั้งแต่ย้ายกล้าจนถึงเก็บเกี่ยว - พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกเหลือง อายุประมาณ 70 –90 วัน - พริกเล็กหรือพริกขี้หนู อายุประมาณ 60 -90 วัน - พริกยักษ์ อายุประมาณ 60 – 80 วัน

ฤดูปลูก 
        ปลูกได้ตลอดปี แต่ปลูกได้ผลดีที่สุดระหว่างเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่เก็บผลผลิตในฤดูแล้ง ทำให้สะดวกในการตากแห้ง และช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู 24–29 องศาเซลเซียล สำหรับการปลูกให้ได้ราคาสูงจะต้องปลูกในเดือนเมษายน-พฤษภาคม และสิงหาคม-กันยายน เป็นช่วงที่ปลูกพริกยากที่สุด

การเตรียมเมล็ดพันธุ์
         ควรเลือกใช้พันธุ์พริกที่ตลาดมีความต้องการมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ปัจจุบันนิยมใช้พันธุ์ ลูกผสมซูเปอร์ฮอท ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ไปเพาะ คัดเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ออกโดยนำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำสะอาด เมล็ดพันธุ์ที่เสียจะลอยน้ำแล้วคัดออก นำไปแช่น้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน ประมาณ 30 นาที ก่อนนำไปเพาะกล้า

การเพาะเมล็ดพันธุ์ในแปลง
         นำเมล็ดพันธุ์หว่านให้กระจายทั่วทั้งแปลงเพาะ หรือโรยเมล็ดเป็นแถวลงไปในร่องลึก 0.6–1 ซม. ห่าง กันแถวละประมาณ 10 ซม. กลบด้วยปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหรือดินผสมละเอียดรดน้ำให้ชุ่มเสมอ คลุมด้วย ฟางแห้งหรือหญ้าแห้งบางๆ เมื่อกล้าเริ่มงอกมีใบจริงอายุประมาณ 12–15 วัน ถอนแยกต้นที่เป็ นโรคไม่ สมบูรณ์หรือต้นที่ขึ้นเบียดกันแน่นเกินไปทิ้งให้มีระยะห่างกันพอสมควรและควรให้ปุ๋ยเสริมทางใบเพื่อให้ต้น กล้าเจริญเติบโตและแข็งแรง เมื่อต้นกล้าอายุ 30–40 วัน จึงย้ายลงปลูกในแปลงใหญ่ได้

การเพาะเมล็ดพันธุ์ในกะบะเพาะ
         การเพาะในถาดหลุมมีวัสดุเพาะเมล็ดเป็ นส่วนผสมส าเร็จรูปที่อุ้มน้ำได้พอเหมาะ แต่ละถาดมี104 หลุม วัสดุเพาะ(มีเดีย) 1 ถุงใส่ถาดเพาะได้ 14-16 ถาด เทคนิคการเพาะที่ทำให้ต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ก่อน ย้ายปลูกจะต้องเพาะเมล็ดให้งอกก่อนในวัสดุเพาะอย่างอื่นเช่นทรายผสมแกลบดำและขุยมะพร้าวเมล็ดจะ งอกใช้เวลาประมาณ 10-12 วัน หลังจากนั้นจึงย้ายไปปลูกในวัสดุเพาะสำเร็จรูป(มีเดีย)ที่อยู่ในถาดเพาะใช้ เวลาอีก 14-18 วันจึงน าต้นกล้าย้ายปลูกได้ การเตรียมดนิปลูก การเตรียมดินปลูกพริกนั้น ควรพิจารณาความแตกต่างตามสภาพของดินและระดับน้ำดังนี้ คือ 1. การเตรียมดิน ควรขุดหรือไถดินให้ลึกประมาณ 15 ซม. ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ ยหมักหรือปุ๋ ยคอก ที่สลายตัวแล้วประมาณ 20 กก. ต่อเนื ้อที่ 5 ตารางเมตร พรวนย่อยผิวหน้าดินให้ละเอียด 2. การเตรียมดินปลูกในเขตอาศัยน้ำฝน ต้องพิจารณาเลือกที่ซึ่งระบายน้ำได้ดี การกำหนดแถวปลูก ให้ก าหนดแถวคู่ห่างกัน 1.20 ม. และให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 0.50 ม. ระยะระหว่างต้น 0.50 X 0.50 ม. เมื่อเตรียมแปลงปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ ยคอกในอัตราไร่ละ 1,200 – 3,000 กก. ทำการคลุก ปุ๋ยคอกให้เข้ากับดินแล้วใส่ปุ๋ ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กก. ต่อไร่ และใช้สารเคมีป้องกัน และในสภาพดินที่เป็นกรดจัดควรใช้ปูนขาวในอัตรา 200 – 400 กก.ต่อไร่
 การปฏิบัติดูแลรักษา
        1. การให้น้ำพริกเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอในช่วงแรกของการเจริญเติบโต ดินควรมีความชุ่มชื้นพอดีอย่าให้เปียกแฉะเกินไปจะทำให้ต้นพริกเหี่ยวตายได้ ในช่วงเก็บผลผลิตควรลดการให้ น้ำเพื่อจะทำให้คุณภาพผลผลิตดี สีของผลสวย
        2. การกำจัดวัชพืช ในระยะที่ต้นพริกยังเล็กควรมีการกำจัดวัชพืชให้บ่อยครัง หากวัชพืชคลุมต้นพริก ช่วงระยะการเจริญเติบโต จะทำให้แคระแกร็นคุณภาพผลผลิตไม่ดี การกำจัดวัชพืชอาจใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น
        3. การใส่ปุ๋ย พริกเป็นพืชที่มีอายุการเก็บผลค่อนข้างยาวนาน ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 25-50กก.ต่อไร่ขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อเป็นการ ช่วยเสริมการเจริญเติบโตนอกจากนี้ควรใส่ปุ๋ยน้ำทางใบบ้างโดยทำการฉีดพ่นทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว การใช้ ปุ๋ยเคมีจะได้ผลต่อพืชสูงสุดขึ้นอยู่กับสภาพและคุณสมบัติของดินโดยเฉพาะ pH ความชื้นและระยะการ เจริญเติบโตของพืชอีกทั้งปริมาณอินทรียวัตถุที่อยู่ในดินซึ่งจะต้องมีอย่างเหมาะสมอย่างเช่นถ้าดินเป็นกรดต้อง ใช้ปูนขาวช่วยปรับสภาพดินให้มี pH ค่อนข้างเป็นกลาง การใส่ปุ๋ยมีลงในดินจำเป็นต้องมีความชื้นอย่าง เพียงพอถ้าไม่เช่นนั้นปุ๋ยเคมีไม่ละลายจะไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชเลยบางครั้งอาจใช้วิธีละลายปุ๋ยเคมีด้วยน้ำให้ มีความเข้มข้นพอดีปกติจะใช้ปุ๋ยเคมีประมาณ 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรแล้วนำไปรดซึ่งจะเป็ นการประหยัดปุ๋ย อย่างมาก การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ใส่ครั้งแรกปริมาณครึ่งหนึ่งก่อนปลูกเป็นปุ๋ยรองพื้นพรวนกลบลงในดิน โรยปุ๋ยไนโตรเจนใส่ข้างต้นพริกห่างจากโคนพริกประมาณ 2 นิ้ว เมื่ออายุ 10 -14 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ครั้งที่ สองปริมาณอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือใส่โรยข้างแล้วแต่งหน้าด้วยปุ๋ยไนโตรเจนพรวนกลบลงในดิน
 การเก็บพริกทำพริกแห้ง
         ควรเลือกเก็บพริกที่แก่จัดสีแดงสดตลอดทั้งผล ปราศจากโรคแมลง เข้าทำลายแล้วรีบนำไปทำให้แห้ง โดยเร็วจะทำให้ได้พริกแห้งที่มีสีสวยและคุณภาพดี การทำพริกแห้งให้มีสีสวยคุณภาพดี มีหลายวิธีดังนี้
        1. การตากแดด คือการนำพริกที่คัดเลือกแล้วนำมาตากแดดโดยตรง แผ่พริกบางๆ บนเสื่อ หรือพื้น บานซีเมนต์ที่สะอาด โดยตากแดดทิ้งไว้ 5 –7 แดด
        2. การอบด้วยไอร้อน คือการนำพริกเข้าอบด้วยไอร้อนในเตาอบโดยวางพริกบนตระแกรง แล้ววาง ตะแกรงเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ วิธีนี้เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ปลูกพริกเป็นจำนวนมาก และการทำพริกแห้ง ในช่วงฤดูฝน
        3. การลวกน้ำร้อน คือ การนำพริกไปลวกน้ำร้อนก่อน โดยลวกนาน 15 นาที แล้วนำไปตากแดด ประมาณ 5 แดด วิธีนี้จะทำให้สีของพริกแห้งสวย และไม่ขาวด่าง
        4. การอบพริกด้วยโรงอบพลังแสงอาทิตย์ เป็นวิธีที่ทำให้ได้พริกที่มีคุณภาพดี สีสวย ก้านพริก แห้งสีทองไม่ดำ สะอาดไม่มีฝุ่นจับอบได้ครั้งละ 400 กก. ใช้เวลาอบประมาณ 3 วัน
        5. ในกรณีที่เก็บพริกแก่จัด แต่ไม่แดงตลอดทั้งผลให้น้ำพริกใส่รวมกันในเข่งหรือกระสอบปุ๋ยบ่มไว้ ในที่ร่มประมาณ 2 คืน เพื่อทำให้พริกสุกสม่ำเสมอกัน หลังจากนั้นทำให้แห้งได้ตามกรรมวิธีข้อ 1 – 4


ขอบคุณ  กรมส่งเสริมการเกษตร   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์